พันธุกรรม
GENETIC
สิ่งมีชีวิตถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานโดยอาศัยสารพันธุกรรมคือ
กรดนิวคลีอิก ในธรรมชาติมีกรดนิวคลีอิกอยู่เพียง ๒ ชนิด
ได้แก่กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิกหรือ DNA กับกรดไรโบนิวคลีอิกหรือ RNA
กรดนิวคลีอิกจัดเป็นสารพวกแมโครโมเลกุล เป็นโพลีเมอร์ของนิวคลีโอไทด์เรียกว่าpolynucleotide
สารพันธุกรรมมีสมบัติเป็นกรดนิวคลีอิก มีอยู่ 2 ชนิด
คือ1. Deoxyribonucleic acid (ดีเอ็นเอ) พบในสิ่งมีชีวิตทั่วไป
2. Ribonucleic acid (อาร์เอ็นเอ) พบในไวรัสบางชนิดเท่านั้น
ดี เอน เอ (Deoxyribonucleic acid DNA)ดี เอน เอ เป็นสารชีวโมเลกุลที่ใหญ่ที่สุด ในคนพบ ดี เอน เอ ในนิวเคลียสของเซลล์และในไมโตคอนเดรีย ดี เอน เอ มีขนาดและรูปร่าง
ที่แตกต่างกัน ตั้งแต่มีรูปร่างเป็นวงกลม เช่น พลาสมิดซึ่งเป็น ดี เอน เอ ขนาดเล็กในบักเตรีจนถึง ดี เอน เอ ขนาดใหญ่พันม้วนกับแกนโปรตีนอย่างซับซ้อนจนมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เช่น โครโมโซมในเซลล์มนุษย์
2. Ribonucleic acid (อาร์เอ็นเอ) พบในไวรัสบางชนิดเท่านั้น
ดี เอน เอ (Deoxyribonucleic acid DNA)ดี เอน เอ เป็นสารชีวโมเลกุลที่ใหญ่ที่สุด ในคนพบ ดี เอน เอ ในนิวเคลียสของเซลล์และในไมโตคอนเดรีย ดี เอน เอ มีขนาดและรูปร่าง
ที่แตกต่างกัน ตั้งแต่มีรูปร่างเป็นวงกลม เช่น พลาสมิดซึ่งเป็น ดี เอน เอ ขนาดเล็กในบักเตรีจนถึง ดี เอน เอ ขนาดใหญ่พันม้วนกับแกนโปรตีนอย่างซับซ้อนจนมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เช่น โครโมโซมในเซลล์มนุษย์
องค์ประกอบทางเคมีของดีเอ็นDNA ประกอบด้วย หน่วยย่อยของ
Nucleotides จับกันด้วยพันธะ Phosphodiester Bond และ Nucleotides นี้ประกอบด้วย
น้ำตาล Deoxyribose หมู่ฟอสเฟต และเบส (Nitrogenous Base) 4 ชนิด ได้แก่
- Guanine (G) , Adenine (A) (Purine - มีวงแหวน 2 วง)
- Cytosin (C) , Thymine (T) (Pyrimidine – มีวงแหวน 1 วง
- Guanine (G) , Adenine (A) (Purine - มีวงแหวน 2 วง)
- Cytosin (C) , Thymine (T) (Pyrimidine – มีวงแหวน 1 วง
แบบจำลองโครงสร้างของ DNAJ.D. Watson นักชีววิทยาอเมริกัน
& F.H.C. Crick นักฟิสิกส์อังกฤษ เสนอโครงสร้างของ DNA
ได้รับ Nobel Prize ตีพิมพ์ผลงานในNature ฉบับวันที่ 25 เดือนเมษายน ค.ศ. 1953
1. ประกอบด้วย 2 polynucleotides ยึดกันโดยการจับคู่กันของเบส โดย H-bond
2. ทั้ง 2 สายขนานกันและมีติดทางตรงข้าม (antiparallel)
3. การจับคู่กันของเบสระหว่าง A - T (2 H-bonds), C - G (3 H-bonds) = complementary basepairs (เบสที่เป็นเบสคู่สมกัน คือ A จับคู่กับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ และGจับคู่กับ C ด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ)
4. ทั้ง 2 สายจะพันกันเป็นเกลียวเวียนขวา (right handed double strand helix)
5. แต่ละคู่เบสห่างกัน 3.4 อังสตรอม (.34 nm) เอียงทำมุม 36 องศา 1 รอบ = 10 คู่เบส = 34 อังสตรอมเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 อังสตรอม
1. ประกอบด้วย 2 polynucleotides ยึดกันโดยการจับคู่กันของเบส โดย H-bond
2. ทั้ง 2 สายขนานกันและมีติดทางตรงข้าม (antiparallel)
3. การจับคู่กันของเบสระหว่าง A - T (2 H-bonds), C - G (3 H-bonds) = complementary basepairs (เบสที่เป็นเบสคู่สมกัน คือ A จับคู่กับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ และGจับคู่กับ C ด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ)
4. ทั้ง 2 สายจะพันกันเป็นเกลียวเวียนขวา (right handed double strand helix)
5. แต่ละคู่เบสห่างกัน 3.4 อังสตรอม (.34 nm) เอียงทำมุม 36 องศา 1 รอบ = 10 คู่เบส = 34 อังสตรอมเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 อังสตรอม
ที่มา
สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2556
ข้อมูลดีมากคะ เหมาะกับการนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้เลยนะคะ
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบสามารถนำไปใช้ประกอบการสอนได้เลยค่ะ
ตอบลบถ้ามีโอกาสลองเข้ามาดูใหม่นะคะ
ตอบลบ